อนาคตเด็กไทยอยู่ในมือคุณ! มารวมพลังเพื่อเปลี่ยนแปลงการศึกษาไทย ในเวที TEP Forum 2024 “สร้างประเทศไทยเป็นสังคมการเรียนรู้: เรียนรู้สู่สมรรถนะอย่างไร้รอยต่อ”

ภาคีเพื่อการศึกษาไทย (Thailand Education Partnership: TEP) ผนึกภาคีด้านการศึกษา องค์กรภาคเอกชน ภาครัฐ และภาคสังคม ที่เกี่ยวข้อง จัดงานประชุมวิชาการ TEP Forum 2024 “สร้างประเทศไทยเป็นสังคมการเรียนรู้: เรียนรู้สู่สมรรถนะอย่างไร้รอยต่อ” พร้อมเชิญชวนทุกภาคส่วนร่วมออกแบบ ตั้งเป้าหมายสู่การเปลี่ยนแปลงอนาคตการศึกษาไทยในทุกมิติ ระหว่างวันที่ 15 – 16 มิถุนายน 2567 ตั้งแต่เวลา 09.00 – 16.30 น. ณ อาคาร ทรู ดิจิทัล พาร์ค เวสต์ กรุงเทพฯ ในงานวันแรกพบกับเวทีเครือข่ายที่พร้อมเดินหน้าสู่การปฏิรูปการศึกษาไทยอย่างเต็มรูปแบบในประเด็นที่น่าสนใจ ทั้งเรื่องปฐมวัย การพัฒนาครู สาธิต – นำเสนอนวัตกรรมด้านหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ (Enrichment program) กลไกสนับสนุนโรงเรียนให้เกิดการพัฒนาอย่างเป็นระบบ ผ่านกิจกรรมเสวนา และ Workshop ในหัวข้อที่น่าสนใจ อาทิ “ความรู้ฐานราก 3 มิติ (Self, EF,…

Read More

SVThailand ผนึกกำลัง ทปอ.-สกสว.-อว. & พันธมิตร ดันมาตรฐาน SDG Impact ร่วมสร้างพันธมิตร ด้วยพลังภาคการศึกษา

ครั้งแรก! การผนึกกำลังระหว่าง ทปอ.-สกสว.- อว. & พันธมิตรธุรกิจ ภาคการศึกษา และภาคีเครือข่ายพันธมิตร ด้านการศึกษา สิ่งแวดล้อม ธุรกิจ ในประเทศ และระดับโลก ในงาน “Social Value Thailand Forum 2024” วันที่ 25-26 เมษายนนี้ ห้อง Nile 1-4 ชั้น 2 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค พันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี ผู้อำนวยการกองขับเคลื่อนและพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สะท้อนถึง “ความตื่นตัวและความก้าวหน้าของพลังภาคการศึกษา ที่ผลักดันกลยุทธ์การกำหนดทิศทางและขับเคลื่อนการสร้างผลงานด้าน วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ให้เกิดผลกระทบสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยการวางแผนและการจัดสรรงบประมาณมุ่งผลสัมฤทธิ์ ตลอดจนพัฒนาระบบ/กลไกการประเมินผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI/SROI) ระดับแผนงาน พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ และการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงลึกเพื่อใช้ในการวางแผนและจัดสรรงบประมาณ และพัฒนากลไกการคาดการณ์และติดตามความเปลี่ยนแปลงในอนาคต (Strategic Foresight) เช่น การจัดสรรงบประมาณสำหรับ Fundamental…

Read More

IRDP จัดพิธีเปิดการฝึกอบรม หลักสูตร “Leadership Succession Program” รุ่นที่ 15

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาองค์กรภาครัฐ (IRDP) จัดพิธีเปิดการฝึกอบรม หลักสูตร “Leadership Succession Program” (LSP) รุ่นที่ 15 ระหว่างวันที่ 15-16 มีนาคม 2567 ณ โรงแรม Holiday Inn พัทยา โดยมี ศาสตราจารย์ ดร. วรภัทร โตธนะเกษม กรรมการผู้จัดการ IRDP และประธานกรรมการบริหารหลักสูตร ให้เกียรติเป็นประธานในพิธี และกล่าวรายงานความเป็นมาของโครงการ โดยมี ดร. เสรี นนทสูตร รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส IRDP ดำเนินกิจกรรมแนะนำตนเอง และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชัยวัฒน์ วงศ์อาษา เลขาธิการสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกล่าวปฐมนิเทศแก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ในการนี้ ศาสตราจารย์ ดร. วรภัทร โตธนะเกษม ได้กล่าวถึงความเป็นมาของโครงการว่า ในยุคโลกาภิวัฒน์ ซึ่งความเปลี่ยนแปลงต่างๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และนำมาซึ่งความท้าทายที่หลากหลาย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารระดับสูงขององค์กร จะต้องพัฒนาตนเองตลอดเวลา เพื่อให้มีองค์ความรู้และทักษะที่สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายในปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล…

Read More

Chulalongkorn Business School ก้าวไปอีกขั้นในการพัฒนานิสิตคุณภาพ ร่วมมือพันธมิตรระดับโลกกับ ฮาคูโฮโด ประเทศไทย เปิดตัว HIT PROGRAM

กรุงเทพฯ ประเทศไทย, กุมภาพันธ์ 2567 – คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ร่วมมือกับ บริษัท ฮาคูโฮโด อินเตอร์เนชั่นแนล (ไทยแลนด์) จำกัด ในการเป็นพันธมิตรพัฒนา “HIT PROGRAM” สอนนิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ 4 ประจำปีการศึกษา 2566 ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2567 – 17 พฤษภาคม 2567 ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ กล่าวว่า ‘ทางคณะ โดยภาควิชาการตลาด ได้ให้ความร่วมมือกับองค์กรสำคัญระดับนานาชาติมายาวนาน เพื่อเสริมสร้างให้นิสิตเป็นผู้นำแห่งอนาคตในด้านการตลาดและแบรนด์ มีความสามารถสูงและเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมและประเทศชาติ สำหรับความร่วมมือกับฮาคูโฮโดซึ่งเป็นองค์กรสำคัญในแวดวงการตลาดและการสื่อสารของโลกนั้นได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องกว่า 10 ปี และการลงนามในบันทึกความร่วมมือครั้งนี้จะยิ่งกระชับความร่วมมือของสององค์กรให้แน่นแฟ้นขึ้น’ ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจของ คุณเทรุฮิซะ อิโต  ประธานบริษัทและผู้บริหารระดับสูงของบริษัท ฮาคูโฮโด อินเตอร์เนชั่นแนล (ไทยแลนด์) เน้นการดำเนินงานตามปรัชญา 2 ข้อสำคัญของฮาคูโฮโด…

Read More

คณะพยาบาลศาสตร์ ม.มหิดล ร่วมกับ สมาคมศิษย์เก่าพยาบาลศิริราชฯ และฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช จัดประชุมวิชาการคณะพยาบาลศาสตร์ครั้งที่ 33 เรื่อง “การพยาบาลแม่นยำ: บทบาทที่ท้าทายในการพัฒนาคุณภาพการดูแล

วันนี้ เวลา 09.00 น. ณ โรงแรมโกลเด้น ทิวลิป ซอฟเฟอริน กรุงเทพฯ ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ภัทรชัย กีรติสิน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมคณะพยาบาลศาสตร์ครั้งที่ 33 เรื่อง “การพยาบาลแม่นยำ: บทบาทที่ท้าทายในการพัฒนาคุณภาพการดูแล (Precision Nursing: Challenges Role in improving quality of care)” โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. เอมพร รตินธร คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดการประชุมครั้งนี้ รองศาสตราจารย์ ดร. เอมพร รตินธร คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงความสำคัญของการพยาบาลแม่นยำว่า เป็นมิติใหม่ในการดูแลสุขภาพของบุคคลทั้งการระบุปัญหา การป้องกันและแผนการดูแลที่ออกแบบเฉพาะบุคคล โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างยีน สภาพแวดล้อม และวิถีชีวิตของบุคคล เพื่อกำหนดเป้าหมายการพยาบาลให้มีความแม่นยำเหมาะกับลักษณะเฉพาะของบุคคลแต่ละราย โดยการพยาบาลแม่นยำสามารถครอบคลุมประเด็นข้อมูลทางพันธุกรรม การบูรณาการข้อมูลขนาดใหญ่ แผนการพยาบาลที่เหมาะสม การมีส่วนร่วมของผู้ป่วย และการพิจารณาด้านจริยธรรม ทั้งนี้…

Read More

มทร.ล้านนา เปิดแผนรับนักศึกษา ปี 67 ตั้งเป้าเพิ่มยอดนักศึกษา 2,000 คน เดินหน้าจับมือกับสถานประกอบการ ร่วมจัดทำหลักสูตร ผลิตบัณฑิตนวัตกรรม ตอบโจทย์ความต้องการของสถานประกอบการ มุ่งเน้นสาขา S-CURVE อุตสาหกรรมแห่งอนาคต

ผศ.ดร.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.)ล้านนา เปิดเผยว่า มทร.ล้านนา จัดเป็นมหาวิทยาลัยที่อยู่ในกลุ่มสอง หรือมหาวิทยาลัยกลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม ซึ่งแต่ละปีนวัตกรรมและเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ขณะเดียวกันภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ สถานประกอบการ มีความต้องการวัยแรงงานที่สามารถใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีได้ โดยในปีที่ผ่านมา มทร.ล้านนา จึงได้ทำความร่วมมือกับสถานประกอบการกว่า 20 แห่ง เพื่อจัดทำหลักสูตรร่วมกัน ในกลุ่มสาขา S-CURVE อุตสาหกรรมแห่งอนาคต “ในปีนี้ มหาวิทยาลัยได้จัดทำหลักสูตรร่วมกับสถานประกอบการ ทำให้สถานประกอบการมีการจัดส่งพนักงาน บุคลากรมาเรียนร่วม Upskill Reskill เพื่อให้มีทักษะตรงความต้องการของตลาดแรงงาน 1,200 คน และขณะนี้มีการขยายความร่วมมือกับสถานประกอบการมากขึ้น โดยล่าสุดได้มีการลงนามความร่วมมือกับ บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) ซึ่งได้มีการเปิดโอกาสให้แรงงานในโรงงานมาเรียนหลักสูตรวิศวกรรมการเกษตร จำนวน 30 คน  ดังนั้น ปี 2566 มทร.ล้านนา มีจำนวนนักศึกษา 15,000 คน และในปี 2567 ตั้งเป้าจะเพิ่มจำนวนนักศึกษาอีก 2,000 คน เป็น 17,000…

Read More

บพค. จัดงาน “PMU-B Brainpower Congress 2023 : Frontier Research to Future Industries by I conNEXT with U” ภายใต้แนวคิด “ร่วมกันสร้างและขับเคลื่อนงานวิจัยขั้นแนวหน้าสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคต” 

หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากําลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัย และการสร้างนวัตกรรม (บพค.) สํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) หน่วยงานในกำกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดงานประชุมวิชาการ “PMU-B Brainpower Congress 2023 : Frontier Research to Future Industries by I conNEXT with U” ภายใต้แนวคิด “ร่วมกันสร้างและขับเคลื่อนงานวิจัยขั้นแนวหน้าสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคต” ระหว่างวันที่ 18 – 20 ธันวาคม 2566  ณ โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี เพื่อยกระดับและเสริมสร้างความเข้มแข็งในการพัฒนากําลังคนสมรรถนะสูง (Brainpower development) และสร้างเครือข่ายงานวิจัยขั้นแนวหน้าล้ำยุคร่วมกับนักวิจัย อาจารย์ นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญจากภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ที่เกี่ยวข้องกว่า 80 หน่วยงาน รวมทั้งสิ้นกว่า 700…

Read More

รมว.ดีอี เร่งขับเคลื่อนโมเดลพัฒนากำลังคนดิจิทัลให้พร้อมรับมือเทคโนโลยีโลกใหม่อย่างยั่งยืน หนุน ดีป้า เดินหน้าโครงการ Coding for Better Life สร้างรากฐานอนาคตประเทศไทย

18 ธันวาคม 2566, กรุงเทพมหานคร – กระทรวงดีอี โดย ดีป้า แถลงข่าวเปิดโครงการ Coding for Better Life สร้างรากฐานอนาคตประเทศไทย มุ่งสร้างระบบนิเวศดิจิทัลที่พร้อมรองรับการพัฒนาทักษะด้านโค้ดดิ้งอย่างยั่งยืนผ่านการยกระดับห้องเรียนโค้ดดิ้ง 1,500 โรงเรียนทั่วประเทศ ควบคู่ไปกับการเสริมทักษะและสร้างความตระหนักรู้แก่เยาวชน ครูผู้สอน บุคลากรการศึกษา ผู้ปกครอง และประชาชนทั่วไปผ่านหลักสูตรและกิจกรรมต่างๆ เพื่อสร้างเมล็ดพันธุ์ดิจิทัลที่มีความพร้อมต่อการสร้างรากฐานอนาคตของประเทศ สอดคล้องกับเป้าหมายสำคัญในการเพิ่มศักยภาพทุนมนุษย์ด้านดิจิทัลของประเทศ เครื่องยนต์ที่สามของนโยบาย The Growth Engine of Thailand นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (รมว.ดีอี) เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการCoding for Better Life สร้างรากฐานอนาคตประเทศไทย และพิธีประกาศความร่วมมือด้านการสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลและการยกระดับการเรียนรู้ด้านโค้ดดิ้ง และด้านการส่งเสริมองค์ความรู้ในการพัฒนาทักษะโค้ดดิ้ง ภายใต้โครงการCoding for Better Life โดยมี ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า พร้อมด้วย นายฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์…

Read More

มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด เปิดตัว แนวทางพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบภายใต้การเรียนการสอนแบบองค์รวม เพื่อเสริมสร้างความพร้อมสู่อนาคตให้กับโรงเรียนในประเทศไทย

แนวทางดังกล่าวมุ่งเตรียมความพร้อมทางการศึกษาให้กับนักเรียนอายุระหว่าง 2-19 ปี โดยการเรียนการสอนให้ความสำคัญกับ “คุณภาพชีวิตที่ดี” ร่วมด้วย ในงานยังมีการประกาศรายชื่อนักเรียนจากโรงเรียนในไทยที่ได้รับรางวัล OxfordAQA Student Achievement Awards ประจำปี 2566 งาน Empowering Today’s Learners for Tomorrow’s Challenges ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด (Oxford University Press: OUP) ร่วมกับหน่วยงานวัดระดับการศึกษานานาชาติ OxfordAQA ภายใต้การสนับสนุนของสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย ได้มีการเปิดตัวแนวทางพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ (Whole-School Approach: WSA) ภายใต้การเรียนการสอนแบบองค์รวมที่มุ่งเน้นคุณภาพชีวิตนักเรียนเป็นหลักสำหรับนักเรียนอายุระหว่าง 2-19 ปี โดยแนวทางดังกล่าวเป็นการผสาน หลักสูตร Oxford International Curriculum และหลักสูตรสอบวัดระดับความรู้มาตรฐานสากล OxfordAQA International Qualifications เข้าด้วยกัน คุณแอนดรูว์ คูมบ์ (Andrew Coombe) กรรมการผู้จัดการของ OxfordAQA เปิดเผยว่า ในยุคปัจจุบันที่ทั้งโลกมีความเชื่อมโยงกันและมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แวดวงการศึกษาก็มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากเช่นกัน โดยการศึกษาในอนาคตจะไม่ได้มุ่งเน้นเพียงการได้รับความรู้…

Read More

สสส.สัญจรวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสงขลา จ.สงขลา ยกระดับ-สร้างอาวุธให้ครูแกนนำ ลดปัจจัยเสี่ยง (เหล้า-บุหรี่) เพิ่มปัจจัยบวก หวังสร้างเกราะให้เยาวชน พร้อมแนะนำสายด่วน 1600 เพื่อการเลิกบุหรี่ และสายด่วน 1413 เพื่อการเลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

เมื่อเร็วๆ นี้ ที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสงขลา จังหวัดสงขลา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และมูลนิธิรณรงค์หยุดพนัน จัดกิจกรรมสัญจรลงพื้นที่วิทยาลัยอาชีวศึกษาต้นแบบยกระดับสู่สถานศึกษาลดปัจจัยเสี่ยงเพิ่มปัจจัยบวก ภายใต้โครงการพัฒนาเครือข่ายและหนุนเสริมศักยภาพครูและแกนนำนักศึกษาอาชีวศึกษา ป้องกันปัจจัยเสี่ยง (เหล้า บุหรี่) ในสถานศึกษา ระยะที่ 2 เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับแกนนำครูอาชีวะ ในการนำไปเป็นเครื่องมือป้องกันปัจจัยเสี่ยงให้กับเด็กในสถานศึกษา ตลอดจนคนในชุมชน ซึ่งกิจกรรมครั้งนี้มีตัวแทนครูแกนนำจากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสงขลาเข้าร่วมกว่า 30 คนจากภาควิชาต่าง ๆ นางสาวชนม์ศิกานต์ แก้วกระจ่าง ผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสงขลา จังหวัดสงขลา กล่าวว่าด้วยพื้นที่ตั้งของวิทยาลัย ทำให้ผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยง (เหล้า-บุหรี่) เกิดขึ้นค่อยข้างน้อย แต่วิทยาลัยเล็งเห็นถึงความสำคัญของเรื่องนี้ มีการออกกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการป้องกัน เช่น การตรวจตราทุกครั้งก่อนเข้าเรียน กำหนดจุดเฝ้าระวังภายในวิทยาลัย ประชุมผู้ปกครองเพื่อทำความเข้าใจ รวมถึงเน้นย้ำครูผู้สอนให้เข้าใจถึงปัญหาและร่วมหาแนวทางป้องกันร่วมกัน ซึ่งโครงการพัฒนาเครือข่ายและหนุนเสริมศักยภาพครูและแกนนำนักศึกษาอาชีวศึกษา ป้องกันปัจจัยเสี่ยง ของ สสส. ถือเป็นโครงการสำคัญที่จะช่วยให้ครูมีความเข้าใจ และ มีอาวุธในการป้องกันปัจจัยเสี่ยงใหกับเยาวชน นายธวัชชัย กุศล รองผู้อำนวยการด้านบริหารและการบริการ ศูนย์ปรึกษาเพื่อการเลิกสุราและการเสพติด (1413 สายด่วนเลิกเหล้า) กล่าวว่า การสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับครูถือเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันปัจจัยเสี่ยงให้กับเด็ก เพราะครูถือเป็นบุคคลที่มีความใกล้ชิดกับเด็ก…

Read More