โคเวสโตร ประกาศเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขอบเขต 3 ภายใต้ภารกิจสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอน

  • ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 10 ล้านเมตริกตันที่เกิดขึ้นในห่วงโซ่อุปทานทั้งระดับต้นน้ำและปลายน้ำ (ขอบเขต 3) ให้ได้ภายในปี 2578 เพื่อสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอนขอบเขต 3 ภายในปี 2593
  • เริ่มกลยุทธ์ด้านสภาพภูมิอากาศเพื่อลดก๊าซเรือนกระจกโดยสมบูรณ์
  • แผนการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงการเปลี่ยนแปลงห่วงโซ่อุปทานทั้งหมดที่จำเป็น

โคเวสโตร (Covestro) แถลงเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนด้านการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขอบเขต 3 เพื่อก้าวสู่ขั้นตอนสุดท้ายของกลยุทธ์ด้านสภาพภูมิอากาศเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเป้าหมายระยะสั้น บริษัทวางแผนลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกลง 10 ล้านเมตริกตันภายในปี พ.ศ. 2578 ซึ่งจะเท่ากับเป็นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 30% เมื่อเปรียบเทียบกับปีฐานใน พ.ศ. 2564 โดยคำนวณรวมกับอัตราการปล่อยก๊าซที่เพิ่มขึ้นบางส่วนจนถึงปี 2578 สำหรับแผนในระยะยาวโคเวสโตรวางแผนสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอนให้ได้ภายในปี พ.ศ. 2593 หลังจากที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในขอบเขต 3 เสร็จสมบูรณ์ 

โคเวสโตร เคยแถลงเป้าหมายอันมุ่งมั่นเรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในขอบเขต 1 และขอบเขต 2 เมื่อปี พ.ศ. 2565 ซึ่งรวมถึงการบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนในการดำเนินงานภายในปี พ.ศ. 2578 โดยการปล่อยก๊าซในขอบเขต 1 คือส่วนที่มาจากกระบวนการผลิตของโคเวสโตรเองในขณะที่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกขอบเขต 2 เกิดจากผลกระทบของแหล่งพลังงานที่จัดซื้อมา และสำหรับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในขอบเขต 3 คือก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่เกิดขึ้นในห่วงโซ่อุปทานทั้งในระดับต้นน้ำและปลายน้ำ ซึ่งคิดเป็นประมาณ 80% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดของบริษัท โดยวัตถุดิบที่ โคเวสโตร จัดซื้อมานั้นมีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขอบเขต 3 มากที่สุด

การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในขอบเขต 3 จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบห่วงโซ่อุปทานทั้งหมด เนื่องจากมีปัจจัยมากมายที่ส่งผลกระทบถึงกันและกัน ซึ่งรวมถึงความพร้อมในการจัดหาวัตถุดิบทางเลือก พลังงานหมุนเวียน ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและกระบวนการผลิตใหม่ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงในตลาด ล้วนมีบทบาทสำคัญในกระบวนการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ และเพื่อให้บรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ โคเวสโตร คาดว่าจะลงทุนเพื่อเป้าหมายเป็นมูลค่าหลายร้อยล้านยูโรในช่วงเวลา 10 ปีข้างหน้านี้

ดร.มาร์คุส สไตเลอมานน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โคเวสโตร กล่าวว่า “เป้าหมายขอบเขต 3 ของเรา ถือเป็นความมุ่งมั่นขั้นสูงและมีแผนการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อการสนับสนุนให้เกิดขึ้นจริง ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในกลยุทธ์ด้านสภาพภูมิอากาศของเรา การบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางสภาพภูมิอากาศนับเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญในการปรับเปลี่ยนการดำเนินงานของเราทั้งหมดให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ในการก้าวสู่การหมุนเวียนอย่างเต็มรูปแบบ ด้วยแนวทางนี้ เรากำลังจะแสดงให้โลกเห็นอีกครั้งว่า เราคือผู้นำในการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ที่แท้จริง”

ในกลยุทธ์ด้านสภาพภูมิอากาศนี้ โคเวสโตรมุ่งเน้นการดำเนินงานใน 4 หมวดของขอบเขต 3 สำหรับแผนระยะสั้นถึงระยะกลาง[1] ซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องวัตถุดิบ การบริหารจัดการผลิตภัณฑ์เมื่อหมดอายุการใช้งาน และการขนส่งเชื้อเพลิงและพลังงานที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ระดับต้นน้ำ ด้วยการบริหารจัดการทั้ง 4 หมวดนี้ เมื่อคำนวณรวมกันจะคิดเป็นก๊าซเรือนกระจกปริมาณ 21.3 ล้านตันต่อปี (ข้อมูล ณ ปี 2564) ซึ่งโคเวสโตรจะสามารถลดการปล่อยก๊าซในขอบเขต 3 ลงได้ถึง 10 ล้านเมตริกตันภายในปี พ.ศ. 2578


[1] Raw materials (part of category 3.1); end-of-life (EoL) handling (category 3.12); fuel and energy-related (category 3.3); upstream transportation (category 3.4)

“การคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในขอบเขต 3 ถือเป็นความท้าทายอย่างมากสำหรับเราในฐานะบริษัทเคมีภัณฑ์ เนื่องจากการปล่อยก๊าซดังกล่าวเกิดขึ้นทั้งในระดับต้นน้ำเมื่อเราทำการจัดซื้อวัตถุดิบ และในระดับปลายน้ำหลังจากที่เราจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของเราออกไป ดังนั้น มาตรการในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในขอบเขต 3 จึงส่งผลกระทบทั้งต่อซัพพลายเออร์และลูกค้าของเรา ซึ่งจำเป็นจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงห่วงโซ่อุปทานทั้งหมด” ดร.ทอร์สเต็น ไฮน์มานน์ ผู้อำนวยการฝ่ายนวัตกรรมและความยั่งยืน โคเวสโตร กล่าว

Dr.Timo Slawinski

สำหรับประเทศไทยซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงงานการผลิตระดับโลกของโคเวสโตรที่มาบตาพุด บริษัทได้ทำงานร่วมกับกลุ่มพันธมิตรเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการลดการปล่อยคาร์บอน เพื่อส่งเสริมเส้นทางสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนและเป้าหมายของขอบเขต 3 ของบริษัท หนึ่งในการดำเนินงานเพื่อการส่งเสริมในเรื่องนี้คือการที่บริษัทได้รับใบรับรอง ISCC Plus จากการใช้วัตถุดิบตั้งต้นแบบชีวภาพแทนวัตถุดิบตั้งต้นจากฟอสซิล และบริษัทยังทำการสำรวจความเป็นไปได้ของวัตถุดิบสีเขียว (green raw material) อื่นๆ เช่น CO หรือไฮโดรเจน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีแนวทางความร่วมมือกับส่วนราชการและสมาคมและองค์กรต่างๆ รวมถึงผู้ให้บริการด้านพลังงานเพื่อผลักดันและสนับสนุนนโยบายด้านแหล่งพลังงานสะอาดอื่น ๆ  เช่น พลังงานไอน้ำสีเขียวและพลังงานไฟฟ้าสีเขียว กลยุทธ์นี้จะเป็นกุญแจสำคัญ ซึ่งไม่เพียงช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในขอบเขต 2 เท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขอบเขต 2 ในส่วนของซัพพลายเออร์อีกด้วย ซึ่งก็จะส่งผลต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในขอบเขต 3 ในท้ายที่สุด

สำหรับการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ โคเวสโตร ประเทศไทย มีความพยายามอย่างมากในการแสวงหาวิธีการที่เป็นไปได้ในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนจากกิจกรรมการขนส่งของบริษัท โดยร่วมมือกับซัพพลายเออร์เพื่อปรับเปลี่ยนมาใช้ยานพาหนะไฟฟ้า คลังสินค้าพลังงานสะอาด และสำรวจหาโอกาสในการพัฒนาด้านอื่น ๆ ของห่วงโซ่อุปทานให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น

“เราต้องการผนึกกำลังกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลักและพันธมิตรทุกรายทั้งในภาครัฐและเอกชน เพื่อส่งเสริมในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและนโยบายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพราะเราเชื่อว่านี่คือหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะสามารถดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศเข้าสู่ประเทศไทยได้ดีในอนาคต” ดร.ทีโม สลาวินสกี้ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โคเวสโตร (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว

Facebook Comments Box

About The Author