เครือข่ายงดเหล้าปลื้ม สภาเด็กและเยาวชนกาญจนบุรี เตรียมเสนอร่างสมัชชาฯ 6 ข้อ ต่อพ่อเมืองกาญจนบุรี วอนผู้ใหญ่ปกป้อง ห่วงใยเด็กและเยาวชนด้วยความจริงใจ หวั่นส่งผลกระทบในอนาคตเกิดปัญหาสังคมไม่จบ

วันที่ 10 กันยายน 2567 – น.ส.ลลิตา โสมภีร์ รองประธานสภาเด็กและเยาวชนฝ่ายกิจกรรมและนันทนการจังหวัดกาญจนบุรี เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ สภาเด็กและเยาวชนกาญจนบุรี รวมตัวจัดทำร่างสมัชชาเด็กและเยาวชนจังหวัดกาญจนบุรี ประจำปี 2567 โดยมีการพิจารณาประเด็นปัญหาภัยจากสิ่งเสพติด กัญชา กระท่อม และการปรับแก้กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ส่งผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนและสังคมทั้งทางตรงหรือทางอ้อม ออกมาเป็นมติที่จะเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี ในกิจกรรมวันงานเยาวชนแห่งชาติ ปี 2567 ดังนี้  “ร่างสมัชชาครั้งนี้ เกิดจากข้อกังวลและความห่วงใยในปัญหาที่เกิดจากสิ่งเสพติด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ไฟฟ้า เนื่องจากเด็กๆ มีมือถือสามารถเข้าถึงโซเชียลมีเดีย และสื่อต่างๆ ได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะโฆษณาเหล้า บุหรี่ไฟฟ้า อีกทั้งยังสามารถซื้อ ขายผ่านออนไลน์ง่ายขึ้นด้วย เป็นประตูที่จะทำให้ก้าวข้ามไปถึงสิ่งเสพติดอื่นๆได้ง่าย ยิ่งขณะนี้กำลังมีการแก้ไข พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จึงคิดว่าควรนำประเด็นนี้มาร่วมกันคิด วางแผน นำไปสู่การแก้ไขที่ถูกต้อง ปรับให้รัดกุมมากขึ้น เพื่อปกป้องเด็กและเยาวชน วอนผู้ใหญ่ ทุกหน่วยงานออกมาช่วยกันดูแลอย่างเต็มที่ เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีความปลอดภัย ไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับอบายมุข เป็นพิษภัยเป็นอุปสรรคต่ออนาคตเด็กไทย” น.ส.ลลิตา กล่าว นายนนทพัทธ์ บุญศรี แกนนำสภาเด็กและเยาวชน…

Read More

วิทยาลัยการอาชีพสระบุรี จ.สระบุรี จับมือ สสส. ดึงเยาวชนให้หลุดพ้นปัจจัยเสี่ยงเหล้า-บุหรี่ ภายใต้โครงการ SIC.ANTI ALCOHOL AND NICOTINE ปักหมุดลดพฤติกรรมเสี่ยงจากเหล้า-บุหรี่ หลังพบพฤติกรรมเยาวชนเลียนแบบการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่จากผู้ปกครองและเน็ตไอดอล

เมื่อเร็วๆ นี้ ที่วิทยาลัยการอาชีพสระบุรี จ.สระบุรี สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และมูลนิธิรณรงค์หยุดพนัน ลงพื้นที่มาร่วมกับกิจกรรมในโครงการ SIC.ANTI ALCOHOL AND NICOTINE หนึ่งในการขับเคลื่อนที่สามารถลดพฤติกรรมเสี่ยงจากปัจจัยเสี่ยง (เหล้า บุหรี่) รวมถึงยาเสพติด และการพนันได้เป็นอย่างดี ภายใต้โครงการพัฒนาเครือข่ายและหนุนเสริมศักยภาพครูและแกนนำนักศึกษาอาชีวศึกษา ป้องกันปัจจัยเสี่ยง เพิ่มปัจจัยบวก เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับนักเรียน นักศึกษา ในการนำไปเป็นเครื่องมือป้องกันปัจจัยเสี่ยงให้กับเด็กในสถานศึกษา ตลอดจนคนในชุมชนต่อไป นางสาวรุ่งอรุณ ลิ้มฬหะภัณ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก สสส. กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยคือบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งมีจุดแข็งกลยุทธ์ด้านการตลาดที่เน้นแบบล่าเหยื่อโดยเฉพาะเด็กและเยาวชนไทย กระทั่งพบว่ามีเยาวชนไทยสูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องและเป็นภัยร้ายที่ใกล้ตัว แม้ว่าจะผิดกฎหมายแต่ยังพบเห็นได้เกลื่อนในโลกออนไลน์ที่หาซื้อได้ง่าย สสส. พยายามสร้างความมตระหนักรู้มาโดยตลอดเกี่ยวกับสารนิโคตินเป็นสารเสพติดภัยร้ายทำลายสุขภาพ เราจึงใช้โครงการหนุนเสริมศักยภาพครูและแกนนำนักศึกษาอาชีวศึกษา ขยายความร่วมมือไปยัง วิทยาลัยจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศรวม 45 วิทยาลัย เพื่อเป็นต้นแบบการเผยแพร่องค์ความรู้ และเป็นกำลังสำคัญในการป้องกันไม่ให้เยาวชนโดยเฉพาะในสายอาชีพเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเหล้า บุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า หรือสารเสพติดชนิดอื่น “สิ่งที่ สสส. จะพยายามต่อไปคือการทำให้เยาวชนรู้เข้าใจ ตระหนัก และส่งต่อองค์ความรู้ผ่านการสร้างสรรค์บนคอนเทนต์เผื่อเผยแพร่ให้กลุ่มเป้าหมายหรือคนรอบข้างพวกเขาได้เข้าใจมากยิ่งขึ้นเกี่ยกับพิษภัยของบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า และเราไม่อยากเห็นภาพเยาวชนนั่งพูดคุยกันในขณะที่ปากยังสูบบุหรี่ไฟฟ้าอยู่เป็นหน้าที่สถานศึกษาต้องดูแลอย่างใกล้ชิด รวมถึงการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการเตือนขอความร่วมมือคนในสังคมว่าอย่านำบุหรี่ไฟฟ้ามาหลอกขายให้เยาวชนหลงผิด…

Read More

TCELS ร่วมงาน “มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2567” เน้นเรียนรู้สนุก สร้างแรงบันดาลใจ LIFE SCIENCE INSPIRATION ชีววิทยาศาสตร์เพื่อแรงบันดาลใจ

17 สิงหาคม 2567 ที่ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2567” ซึ่งจัดโดย กระทรวง อว. ดำเนินการโดย องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) พร้อมมอบรางวัล Prime Minister’s Science Award 2024 เพื่อเชิดชูเกียรติแก่เยาวชนและครูที่สร้างสรรค์ผลงานด้านวิทยาศาสตร์อันโดดเด่น โดยมีผู้บริหารกระทรวง อว. และผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สมาคม สภาสมาคม มูลนิธิและพิพิธภัณฑ์และต่างประเทศ เข้าร่วม ด้านศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ TCELS โดย ดร.จิตติ์พร ธรรมจินดา ผู้อำนวยการ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร เข้าร่วมพิธีเปิดและมอบของรางวัลให้แก่เด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมภายในบูธ ซึ่ง TCELS ส่งเสริมให้เยาวชนเรียนรู้กับกิจกรรมด้านชีววิทยาศาสตร์ ทั้งด้านอาชีพ เทคโนโลยีเสมือนจริง สอดแทรกความรู้ควบคู่กับความสนุกตื่นตาตื่นใจ ค้นหาแรงบันดาลใจให้กับตัวเอง มีกิจกรรมสนุก อาทิเช่น…

Read More

มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ ให้ความสำคัญแก่ความหลากหลายและการไม่แบ่งแยกของนักศึกษาแพทย์ เพื่อสร้างอนาคตที่ดีสำหรับประเทศไทย

กรุงเทพฯ ประเทศไทย – 19 สิงหาคม 2567: ในขณะที่ประเทศไทยยังคงพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ความจำเป็นด้านความหลากหลาย ความเท่าเทียม และการไม่แบ่งแยก (DEI: Diversity, Equity, and Inclusion) ในการศึกษาทางการแพทย์จึงมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ (SGU) ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศเกรนาดา หมู่เกาะเวสต์อินดิส นับว่าอยู่ในระดับแนวหน้าในการส่งเสริม DEI ภายในโปรแกรมการศึกษา เพื่อให้แน่ใจว่าระบบการดูแลสุขภาพมีความครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประชากรที่หลากหลาย รวมถึงประชากรในประเทศไทยด้วย การขาดความหลากหลายในหมู่แพทย์จะจำกัดประสิทธิผลของการดูแลรักษาทางการแพทย์ เมื่อผู้ป่วยไม่สามารถหาแพทย์ที่เข้าใจภูมิหลังทางวัฒนธรรม ความเชื่อ หรือวิถีชีวิตของตนได้ จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการสื่อสารที่ผิดพลาดและการรักษาที่ไม่สมบูรณ์แบบ ดร. จี. ริชาร์ด โอลด์ส, ประธานกิตติคุณ ของ SGU กล่าว “โดยทั่วไปแล้ว คุณต้องการให้บุคลากรด้านการดูแลสุขภาพของคุณสะท้อนถึงความหลากหลายของประชากรที่ให้บริการ ความหลากหลายระหว่างคณาจารย์ในโรงเรียนแพทย์ก็มีความสำคัญเช่นกัน เนื่องจากการแพทย์เป็นอาชีพที่มุ่งเน้นการให้คำปรึกษา” แม้จะมีการเพิ่มความหลากหลายของผู้สมัครเข้าเรียนในโรงเรียนแพทย์ แต่คณาจารย์ในโรงเรียนแพทย์มักจะยังคงมีความเหมือนกันเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งสิ่งนี้ทำให้เกิดปัญหาสำหรับความแตกต่างของนักเรียนแพทย์ที่มาจากประเทศที่มีคนมาเรียนน้อย การเข้าถึงการรักษาพยาบาลนับว่าเป็นอีกประเด็นสำคัญ ในประเทศไทย พื้นที่ชนบทมักเผชิญกับอุปสรรคสำคัญในการให้บริการด้านสุขภาพ เช่นเดียวกับในส่วนอื่นๆ ของโลก ซึ่ง ดร. โอลด์ส ชี้ให้เห็นว่าแพทย์มักจะปฏิบัติงานในพื้นที่ที่ตนฝึกฝนหรือเติบโตมา…

Read More

มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญเปิดตัวโปรแกรม SIMBA หลักสูตรปริญญาตรีควบปริญญาโท 4 ปี เตรียมผู้นำในยุคระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์

กรุงเทพมหานคร, วันที่ 7 สิงหาคม 2567 – มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (Assumption University) เปิดตัวโปรแกรม SIMBA (Smart Integration in Management & Business Analytics) หลักสูตรใหม่ด้านการบูรณาการการจัดการและการวิเคราะห์ธุรกิจที่ผสมผสานปริญญาตรีและโทใน 4 ปี มุ่งให้นักศึกษาได้รับความรู้และทักษะที่จำเป็นในระบบเศรษฐกิจใหม่ อุตสาหกรรมดิจิทัล ผ่านการสอนจากคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากพันธมิตรทางการศึกษาทั่วโลก พร้อมโอกาสศึกษาต่อ และทำงานต่างประเทศผ่านโครงการปริญญาร่วม (Combined /Hybrid Degree) และปริญญาคู่ (Double Degree) เพื่อเปิดวิสัยทัศน์ และเพิ่มศักยภาพ ตลอดจนโอกาสการทำงานในตลาดงานระดับสากล โดยเปิดรับสมัครแล้ววันนี้ – 31 ตุลาคม 2567ศกนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กิตติ โพธิกิตติ ผู้อำนวยการโครงการ SIMBA กล่าว “โปรแกรม SIMBA นี้นับเป็นการเปิดโอกาสใหม่ด้านการศึกษาของประเทศ ที่เตรียมผู้นำรุ่นใหม่ให้พร้อมสำหรับความท้าทายในยุคที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้ทันกับโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งการที่นักศึกษาสามารถสำเร็จการศึกษาได้เร็วขึ้นผ่านกระบวนการศึกษาพิเศษที่เข้มข้นจะช่วยให้พวกเขาก้าวเข้าสู่ตลาดงานที่เหมาะสม…

Read More

มทร.ล้านนา ตั้งเป้าพัฒนา-ผลิตบัณฑิตรองรับความต้องการของผู้ประกอบการ ตอบโจทย์ระเบียงเศรษฐกิจพื้นที่ภาคเหนือ

มทร.ล้านนา ตั้งเป้าพัฒนา-ผลิตบัณฑิตรองรับความต้องการของผู้ประกอบการ ตอบโจทย์ระเบียงเศรษฐกิจพื้นที่ภาคเหนือ ชู 4 พอร์ตการลงทุน เน้นปรับหลักสูตรทันสมัย เปิดหลักสูตรใหม่เท่าทันตลาดแรงงาน เศรษฐกิจ ยกระดับพนักงาน บุคลากรในสถานประกอบการผ่านการเรียนรู้ตลอดชีวิต และผลิตนักศึกษา-บุคลากรมหาวิทยาลัย เป็นสตาร์ทอัพ เปิดบริษัทเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ รศ.ดร.อุเทน คำน่าน รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ล้านนา เปิดเผยว่า การผลิตบัณฑิตให้ตอบโจทย์กับความต้องการของพื้นที่ภาคเหนือและประเทศนั้น มทร.ล้านนา ได้รับมอบหมายจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.)ในการดำเนินโครงการ “การจัดตั้งแพลตฟอร์มอุทยานนวัตกรรม เทคโนโลยี และการสร้างกำลังคนด้านดิจิทัลเพื่อการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ” และการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ในพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ จ.เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง และลำพูน ซึ่งได้มีการกำหนดแผนการพัฒนาและผลิตนักศึกษาไว้เสมือนกับการลงทุน หรือพอร์ตการลงทุน เพราะมหาวิทยาลัยเปรียบเหมือนกับองค์กรหนึ่งที่ไม่ได้แสวงหากำไรแต่ต้องอาศัยปัจจัยทั้งภายในหรือค่าเล่าเรียน และปัจจัยภายนอก อย่างงบประมาณแผ่น การสนับสนุนจากภาครัฐและภาคเอกชน รศ.ดร.อุเทน กล่าวต่อว่า มทร.ล้านนา ได้กำหนดการผลิตนักศึกษา 4 พอร์ตการลงทุน ได้แก่ พอร์ตการลงทุนที่ 1 จะเป็นการพัฒนาตลาดเดิมบริการเดิมให้ดีขึ้นกว่าเดิม หรือการพัฒนา ปรับปรุงหลักสูตรที่มีอยู่ให้ทันสมัย…

Read More

ห้ามพลาด! “อว.แฟร์” ชวนคนไทยสัมผัสสถานีอวกาศขนาดเสมือนจริง พบผลิตภัณฑ์-สินค้าวัฒนธรรมของดี 20 จังหวัด และนิทรรศการสุดเจ๋งทางวิทยาศาสตร์ จัดถึง 28 ก.ค. นี้ ณ ศูนย์ฯ สิริกิติ์

26 กรกฎาคม 2567, กรุงเทพมหานคร – กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เชิญชวนทุกท่านร่วมสัมผัสพลังแห่งอนาคตในงาน อว.แฟร์ : SCI POWER FOR FUTURE THAILAND มหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์ อววน. เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืน ด้วยพลังสหวิทยาการ หรือ“อว.แฟร์” วันนี้ – 28 กรกฎาคม 2567 เวลา 09.00 – 20.00 น. ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ พบกับนิทรรศการหลากหลาย อาทิ ‘นิทรรศการเมืองแห่งการเรียนรู้’ นำเสนอผลิตภัณฑ์เด่นจาก 20 จังหวัด ‘Culture Connex’ แสดงผลผลิตจากทุนทางวัฒนธรรมทั่วประเทศ ‘The Treasures of Herbal Health’ นำเสนอการต่อยอดงานวิจัยสมุนไพร โซนนำเสนอแบบจำลองสถานีอวกาศและดาวเทียม Theos2 การจัดแสดง ‘ดินดวงจันทร์จากยานฉางเอ๋อ 5’ ครั้งแรกในไทย…

Read More

โรงเรียนอำนวยศิลป์ เปิดตัว MV “72 พรรษา สดุดีจอมราชา” เพื่อร่วมใจถวายความจงรักภักดีและเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

นางเพชรชุดา เกษประยูร ประธานบริหาร โรงเรียนอำนวยศิลป์ จัดกิจกรรมเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เปิดตัว MV “72 พรรษา สดุดีจอมราชา” บรรเลงบทเพลงสดุดีจอมราชา โดยมหาดุริยางค์ (ดนตรีไทยร่วมกับออร์เคสตรา) ของนักเรียน พร้อมรําไทย โขน บัลเลต์ และการเคลื่อนไหวตามจังหวะดนตรี (Body Percussion) ของนักเรียนอํานวยศิลป์ชั้นอนุบาล 3 – มัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวนนักเรียนร่วมแสดง 200 คน พร้อมแปลอักษร โดยผู้บริหาร ครู พนักงาน และนักเรียน รวม 1,200 คน เพื่อร่วมใจถวายความจงรักภักดีและเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามิน ทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2567 รับชม MV ได้แล้ววันนี้บน…

Read More

เปิดตัวสถานี UTCC Station มิติใหม่สำหรับนักศึกษา ม.หอการค้าไทย ได้โชว์ของ ฉายแสง แสดงศักยภาพ ทั้งงานเบื้องหน้าเบื้องหลัง ต่อยอดทำงานร่วมกับ ททบ.5

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มหาวิทยาลัยชั้นนำด้านการค้าและการบริการแห่งอาเซียน ต่อยอดมิติใหม่แห่งการเรียนรู้แบบฝึกปฏิบัติ จัดตั้งสถานี UTCC Station บน YouTube แพล็ตฟอร์มวิดีโอหลักของสังคมไทย ภายใต้การดำเนินการโดยนักศึกษาและบุคลากรคณะนิเทศศาสตร์ เพื่อเป็นสถานีแห่งความรู้ โอกาส และความสำเร็จของเยาวชนที่มีใจรักในการสร้างสรรค์คอนเทนต์ทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง ในอนาคตอันใกล้นี้ UTCC Station ได้โอกาสร่วมงานกับสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ในการผลิตรายการสด “แก้เกมเศรษฐกิจ” เพื่อออกอากาศในวันพุธ ถึง วันศุกร์ เวลา 9.00 – 9.30 น. ถือเป็นโอกาสและความท้าทายที่จะทีมนักศึกษา คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จะได้เรียนรู้ ฝึกทักษะ และสัมผัสประสบการณ์ทำงานจริงร่วมกับสถานีโทรทัศน์ที่มีผู้ชมทั่วประเทศ รองศาสตราจารย์ ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มีปณิธานในการสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถทำฝันให้เป็นจริงได้ นักศึกษา Gen Z หลายคน ฝันอยากเป็นคอนเทนต์ครีเอเตอร์ ยูทูบเบอร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยจึงพร้อมสนับสนุนการเปิดสถานี UTCC Station เพื่อเป็นพื้นที่ให้นักศึกษาได้พัฒนาทักษะการเป็นคอนเทนต์ครีเอเตอร์ ได้คิด ได้ลงมือทำจริง ร่วมกันกับเพื่อนๆ ที่มีฝันคล้ายๆ…

Read More

อว. ประกาศความพร้อม เนรมิตงานใหญ่ อว.แฟร์ : SCI POWER FOR FUTURE THAILAND เดินหน้ายกระดับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และนวัตกรรม ขับเคลื่อนไทยสู่อนาคต พบกัน 22-28 กรกฎาคมนี้ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

10 กรกฎาคม 2567, กรุงเทพมหานคร – กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ผนึกกำลังเครือข่ายพันธมิตร ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ประกาศความพร้อมการจัดงาน อว.แฟร์ : SCI POWER FOR FUTURE THAILAND มหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์ อววน. เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืน ด้วยพลังสหวิทยาการ หรือเรียกสั้นๆ ว่างาน “อว.แฟร์” เพื่อยกระดับทักษะองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมแก่ประชาชนไทยให้มีมาตรฐานทัดเทียมนานาชาติ พร้อมแสดงศักยภาพของไทยในการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ตลอดจนเป็นเวทีให้ผู้เข้าร่วมงานได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ พร้อมทั้งสร้างความร่วมมือในด้านต่าง ๆ บนพื้นที่กว่า 23,000 ตารางเมตร กับนิทรรศการ 6 โซนไฮไลต์ โดย อว.แฟร์ มีกำหนดจัดงาน ระหว่างวันที่ 22 – 28 กรกฎาคม 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (QSNCC) ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมงานฟรี! นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า “ตลอดระยะเวลา 5 ปีของการก่อตั้งกระทรวง อว. เพื่อใหเป็นกระทรวงแห่งปัญญา โอกาส และอนาคต…

Read More