YDM เปิดรากฐาน “มาร์เก็ตติ้ง ทรานส์ฟอร์เมชัน” แนะ 4 ทริค เลือก MarTech ที่ใช่ แท็กทีม STEPS Academy ชี้ “Team up” กุญแจสำคัญ เสริมศักยภาพแบรนด์
YDM Thailand เปิด 3 รากฐานมาร์เก็ตติ้งทรานส์ฟอร์ม เผย 4 ขั้นตอน เลือก MarTech ที่ใช่ตอบโจทย์แบรนด์ ชู CDP เป็นเครื่องมือ ที่เหมาะกับการเริ่มต้นทรานส์ฟอร์มการตลาด ด้วยจุดเด่นใช้งานง่าย ติดตามข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ STEPS Academy แนะทริค 6 ขั้นตอนทำความรู้จักแบรนด์สร้างจุดแข็งเพิ่มโอกาสธุรกิจ ชี้ “Team up” คือกุญแจสำคัญ บริหารคนดึงศักยภาพที่มี ผนึก Outsource ที่ปรึกษาด้านการตลาดหนุนกำลังเชิงกลยุทธ์ ทำงานร่วมกับข้อมูลในการทรานส์ฟอร์มการตลาดอย่างยั่งยืน พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลง เรียนรู้ทักษะใหม่บนภาวะแข่งขันทางการตลาด
นายธนพล ทรัพย์สมบูรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วายดีเอ็ม (ไทยแลนด์) จำกัด เอเจนซี่ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดและการทรานส์ฟอร์มธุรกิจสู่ยุคดิจิทัล เปิดเผยว่า รากฐานของความสำเร็จในการทรานส์ฟอร์มทางการตลาดมี 3 องค์ประกอบหลักที่สำคัญ คือ คน กระบวนการ และเทคโนโลยี จากประสบการณ์ทำงานของ YDM ร่วมกับแบรนด์ในการทรานส์ฟอร์มการตลาดสู่ดิจิทัล พบว่าองค์ประกอบหลักที่สำคัญที่สุดคือ “คนในองค์กร” โดยเฉพาะในระดับผู้บริหาร โดยส่วนมากจะติดกับดักวิธีการคิดและการทำงานแบบเดิมๆ ทำให้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ได้ยาก แต่ถ้าแบรนด์ได้ทีมทำงานที่มีวิธีคิดที่ถูกต้อง การปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน และการเลือกเทคโนโลยี MarTech ที่เหมาะสมมาใช้เพื่อการทรานส์ฟอร์มทางการตลาดก็สามารถเพิ่มโอกาสความสำเร็จสูงตามไปด้วย
นายณัฐพล จิตงามพงศ์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายดาต้าเทคโนโลยี บริษัท วายดีเอ็ม (ไทยแลนด์) จำกัด กล่าวเสริมว่า ในส่วนของการปรับกระบวนการทำงาน แบรนด์ต้องมีการปรับวิธีการมอง Segment ผู้บริโภคเป็นแบบ Behavioural Journey Based Segmentation โดยจะต้องทำการเก็บข้อมูลในทุก touchpoints ทั้ง online และ offline โดยเก็บไว้ใน CDP (Customer Data Platform) เพื่อทำความรู้จักกับผู้บริโภคแต่ละคนในเชิงลึก เพื่อปลดล็อควิธีการทำการตลาดแบบใหม่โดยการใช้ Data และ MarTech เพื่อได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยต้นทุนที่ต่ำลง สำหรับการเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมนั้นมีความแตกต่างกันไปในแต่ละแบรนด์ และแต่ละอุตสาหกรรม โดยหลักเกณฑ์ในการวิเคราะห์จะเป็นดังนี้ 1.กำหนดเป้าหมายในการทำการตลาดที่ชัดเจน 2. ระบุปัญหาที่เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ไม่ไปถึงเป้าหมาย 3. ทำการระบุว่าปัญหาในข้อ 2 เกิดขึ้นที่ช่องทางไหนและ engagement กับผู้บริโภคในช่องทางนั้น ๆ เป็นอย่างไร มี Platform อะไรที่สามารถแก้ปัญหานั้นได้ และ 4. ทำการเลือกแพลตฟอร์ม ซึ่งเมื่อผ่านขึ้นตอนที่ 3 นักการตลาดจะเริ่มมองแผนการตลาดได้ชัดเจนขึ้น และรู้ว่าวันนี้แบรนด์ควรเลือกเครื่องมือและแพลตฟอร์มใดที่ตอบโจทย์เป้าหมายของแบรนด์ได้มากที่สุด
นายพล วรรณชนะ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการและผู้ร่วมก่อตั้ง STEPS Academy บริษัทที่ปรึกษาและให้ความรู้อบรมทางด้าน Digital & Data Marketing เปิดเผยว่า ปัจจุบันในยุคการตลาด 5.0 เน้นการใช้เทคโนโลยี เป็นตัวช่วยเสริมศักยภาพทางการตลาด เพื่อตอบสนองพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคเป็นหลัก ผ่านมุมมองการใช้ Data ร่วมกับขั้นตอนการสรรหาบุคลากร หรือ “คน” มาเป็นฟันเฟืองหลักในกระบวนการทำงาน วิธีคิด การวางกลยุทธ์ และเครื่องมือ MarTech เพื่อเดินหน้าขับเคลื่อนแบรนด์สู่การทำมาร์เก็ตติ้งทรานส์ฟอร์เมชันให้สำเร็จ โดยลำดับแรกที่แบรนด์ควรให้ความสำคัญ คือ การวิเคราะห์แบรนด์ของตนผ่าน 6 ขั้นตอน เพื่อสร้างจุดแข็งเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ 1.Define การวิเคราะห์แบรนด์ในมิติต่างๆ2.Align เช็คลิสต์ความพร้อมด้านทัศนคติและศักยภาพของบุคลากรในองค์กร 3.Team up สร้างทีมงานจากทั้งภายใน และภายนอก 4.Kick off การเริ่มต้นอย่างมีกลยุทธ์ 5.Apply การดึงข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และ 6.Scale วางแผนการตลาดให้เติบโตด้วย Data
โดยทุกขั้นตอนต้องใช้ “คน” เป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญ ดังนั้น Team up จึงเป็นกุญแจที่สำคัญมาก โดย จำเป็นต้องสร้างทีมทั้งภายในและภายนอก แบรนด์ต้องประเมินความพร้อมขององค์กร สำหรับองค์กรที่ยังไม่พร้อม ต้องเริ่มจากการปรับความคิดของคน เร่งสร้างความพร้อมขององค์กร หรืออาจจะดึง Outsource เข้ามาช่วยทรานส์ฟอร์เมชันการตลาด และแบรนด์ควรจัดอบรมสร้างความพร้อมให้บุคลากร หรือจ้างบุคลากรเพิ่ม
ปัจจุบันการ องค์กรในไทย เลือกใช้ Outsource หรือใช้ที่ปรึกษาเฉพาะด้าน เป็นแนวทางในการทำมาร์เก็ตติ้ง ทรานส์ฟอร์เมชัน เนื่องจากสามารถกำหนดระยะเวลาได้ตามแผนและเป้าหมายขององค์กร พร้อมยังสามารถลดค่าเสียเวลาในการเพิ่มความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน หรือสกิลใหม่ๆ ที่องค์กรขาด โดยผู้เชี่ยวชาญสามารถตอบโจทย์ได้มากกว่า เร็วกว่า พร้อมมีข้อมูลอื่นๆ ที่ช่วยซัพพอร์ตเติมเต็มช่องโหว่ที่องค์กรยังขาดได้ ซึ่งต่างกับการใช้ทีมภายในที่ขาดประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ ที่อาจต้องใช้เวลาลองผิด ลองถูก ซึ่งทำให้กระทบกับงานที่อยู่ในองค์กร อาจไม่คุ้มค่า และเสียโอกาสในภาวะการแข่งขันตลาดที่ดุเดือดในปัจจุบัน